เราต้องการออกแบบให้การหันทิศทางของ MAJOR AXIS ในคาน H-BEAM

18156589_1369588566420598_8608662042725302156_o1

18056381_1369588646420590_6959055540927938996_o1

18077434_1369588683087253_5849807799212697995_o1

18121203_1369588723087249_7880717907935317878_o1

18121322_1369588609753927_5171223755868882713_o1

 

ref :  https://www.facebook.com/bhumisiam

 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
สืบเนื่องจากที่ผมได้โพสต์ไปเมื่อวันก่อนก็ได้รับคำถามหลังไมค์มาค่อนข้างเยอะนะครับว่า หากเราเป็นผู้ออกแบบโครงการนี้ และ เราต้องการออกแบบให้การหันทิศทางของ MAJOR AXIS ในคาน H-BEAM ออกไปทางด้านคานยื่นด้วยเหตุผลบางประการจะทำได้หรือไม่ ? หากทำได้เราจะหลีกเลี่ยงผลการวิเคราะห์โครงสร้างมิให้ออกมาดังที่ผมได้เตือนไปได้ด้วยวิธีการใดได้บ้าง ?
ผมขอตอบก่อนนะครับว่า ได้ แน่นอนครับ เพราะจริงๆ ปัญหาที่ผมหยิบยกมาเตือนเพื่อนๆ นี้จะเกิดขึ้นก็ต่อสภาวะของการทำงานนั้นไม่เกิดขึ้นสอดคล้องกับสภาพจริงๆ ของโครงสร้าง เช่น หากเราออกแบบให้เสาต้นนี้รับ แรงดึง ถามว่าทำได้หรือไม่ก็ต้องตอบว่าได้ แต่ ในขั้นตอนการก่อสร้างจริงๆ การทำงานจะเริ่มต้นจากการหล่อฐานราก ตอม่อ คาน และ พื้น ก่อนการติดตั้งเสา และ โครงเหล็ก ดังนั้นหาก นน ที่เกิดขึ้นในช่วงแรกนั้นเกิดมากกว่าค่า นน ที่เราใช้ในการออกแบบละ จะเกิดอะไรขึ้น เป็นต้น
สิ่งที่ผมจะขอให้คำแนะนำในวันนี้ก็คือ เมื่อเราออกแบบโครงสร้างใดๆ เราก็ควรทำการจำลอง และ ให้รายละเอียด ที่สอดคล้องกันด้วย ซึ่งจะรวมไปถึงสภาวะการก่อสร้าง และ ใช้งานจริงด้วยนะครับ ดังที่เพื่อนๆ มักจะเห็นว่าในโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ มักจะต้องมีวิศวกรที่ต้องเป้นคนกำหนดและคำนวณการก่อสร้าง และ ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่หน้างานด้วย เพราะ ว่าขั้นตอนเหล่านั้นจะต้องเกิดขึ้นเป็นลำดับๆ ให้สอดคล้องกับกำลังของโครงสร้างที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนด้วยนั่นเองครับ
ดังนั้นในการจำลองโครงสร้างในลักษณะนี้ เพื่อมิให้เกิดปัญหาตามมาเราก็ควรให้รายละเอียดในแบบจำลองที่สอดคล้องกับสภาพการใช้งานจริงๆ ด้วยนะครับ โดย ตย ที่ผมจะยก ตย ให้เพื่อนๆ ได้ชมต่อไปนี้ก็คือใช้ ตย เดิมจากเมื่อวานละกันนะครับ เพื่อนๆ จะได้เข้าใจได้ง่ายๆ ด้วย
โปรแกรมที่ผมใช้ คือ STAAD.PRO นะครับ
ปล ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าสาเหตุที่ผมนิยมใช้โปรแกรมนี้เพราะว่า บริษัทผมซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมนี้โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายทุกประการ และ ผมเป็นนักออกแบบแนวๆ OLD SCHOOL คือ มิได้ให้โปแกรมมันทำทุกอย่าง ทั้งวิเคราะห์ ออกแบบ ถอดปริมาณ เพราะ ผมเชื่อว่าโปรแกรมเป็นเพียงเครื่องมือๆ หนึ่งเท่านั้น การที่เราจะใช้งานมันได้จำเป็นที่เราจะต้องฉลาดกว่ามัน เมื่อ INPUT สิ่งใดลงไป ก็ต้องสามารถที่จะคาดคะเน OUTPUT ของมันออกมาได้ เพียงแต่การใช้โปรแกรมจะช่วยลดระยะเวลาและความยุ่งยากในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้างลงไปได้มาก จากนั้นเราก็จะนำ RESULT จากโปรแกรมไปทำการออกแบบภายนอกด้วยเครื่องมืออื่นๆ ที่มีความเหมาะสมต่อการทำงานต่อไปครับ
มาเริ่มต้นดูกันเลยนะครับ
ในเมื่อเราจะเลือกใช้ที่ตั้งบนคานยื่นโครงสร้างเหล็กอยู่แล้ว เราก็อาจจะเลือกออกแบบให้จุดต่อระหว่างเสาและคานคอดินนี้มีลักษณะเป็นแบบ PINNED – PINNED ก็ได้นะครับ เพราะการทำเช่นนี้ก็ไมไ่ด้ผิดกติกาแต่อย่างใด ขอแค่ให้เราทำการให้รายละเอียดตอนทำแบบก่อสร้างให้ตรงกันกับที่ได้ออกแบบไว้ก็เป็นอันใช้ได้แลวครับ โดยหากจะอาศัย CONCEPT ในการทำแบบจำลองโครงสร้างเป็นเช่นนี้ ผมก็จะสามารถทำแบบจำลองให้ง่ายยิ่งขึ้นได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้นะครับ
ในรูปที่ 1 เมื่อเราเปิดไฟล์มานะครับ ก็ให้ไปที่ TAB หลัก GENERAL/SPEC/BEAM ก่อนนะครับ
ในรูปที่ 2 เราจะเลือกให้โครงสร้างเสานี้เป็น COMPRESSION MEMBER หรือ โครงสร้างที่ต้องรับแรงอัดตามแนวแกนเพียงอย่างเดียว
ในรูปที่ 3 เมื่อเราทำการ ASSIGN ค่าๆ นี้ไปในโปรแกรมแล้วก็จะเห็นว่าในหน้า SPEC จะมีตัวหนังสือขึ้นเป็น SPECIFICATION ของ MEMBER ขึ้นให้เราได้ดู โดยจะขึ้นว่า COMP. ซึ่ฃจะย่อมาจาก COMPRESSION MEMBER หรือ โครงสร้างที่ต้องรับแรงอัดตามแนวแกนเพียงอย่างเดียว นั่นเองครับ
ในรูปที่ 4 คือ ผลการวิเคราะห์โครงสร้างนะครับ โดยจะเห็นได้จาก GRAPH นะครับว่าแรงในชิ้นส่วนเสานี้จะรับ แรงอัด แทนที่จะต้องรับ แรงดึง เหมือนใน ตย ที่แล้วนะครับ โดยแรงอัดที่เกิดขึ้นจะมีค่าโดยประมาณเท่ากับ 160 kgf ซึ่งถือว่าน้อยมากนะครับ
ในรูปที่ 5 ผมได้นำผลการวิเคราะห์โครงสร้างจาก ตย ที่แล้ว ซึ่งเป็นรูปที่เราหันด้าน MINOR AXIS ออกสู่ด้านคานยื่นมา COMPARE ให้เพื่อนๆ ได้ดูด้วยนะครับ
จะพบว่าแรงในรูปนี้จะสูงกว่าที่เราวิเคราะห์ได้ คือ ประมาณ 700 kgf เพื่อนๆ สงสัยหรือไม่ครับว่าเหตุใดค่าแรงที่ออกมานั้นถึงมีค่าไม่ตรงกัน
ถูกต้องครับ เกิดจกาผลของการวางทิศทางของเสาในโครงเหล็กของเรา โดยหากเราไปตรวจสอบแรงในชิ้นส่วนจันทันจะพบว่าชิ้นส่วนนี้จะรับแรงดึง ดังนั้นเพื่อให้แบบจำลองของเรานั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุด เราก็ควรทำการ ASSIGN ค่าต่างๆ ของ PROPERTY ของโครงสร้างให้ออกมาใกล้เคียงกับสภาวะความเป็นจริงให้มากที่สุดนั่นเองครับ
ด้วยเหตุผลประการฉะนี้เองที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปว่า เมื่อใดก็ตามที่เราต้องออกแบบโครงสร้างหนึ่งๆ เราจำเป็นจะต้องสามารถคาดคะเน กำลัง ขั้นตอนในการก่อสร้าง ของโครงสร้างนั้นๆ ได้แม่นยำในระดับหนึ่ง ทั่งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้โครงสร้างซึ่งอยู่ภายในโครงการก่อสร้างของเรานั้นเกิดปัญหาในลักษณะที่ผมได้อธิบายแก่เพื่อนๆ ไปนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
คุณภาพทีมงานช่างมาตรฐาน
คุณภาพเครื่องจักรมาตรฐาน
งานเอกสารตรวจสอบเชื่อถือได้
คุณภาพเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586